วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ยุคเหล็ก

เป็นยุคที่รู้จักการถลุงเหล็ก นำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
แบ่งเป็นแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะสำริดฝังร่วมกับโครงกระดูกในหลุมศพ พบที่บ้านเชียง อุดรธานี หรือแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ฯลฯ ส่วนแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเหล็กฝังร่วมกับโครงกระดูกนั้น พบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งกำลังถูกนายทุนเช่าที่เพื่อลักลอบขุดหาโบราณจนกระทั่งแทบหมดสภาพแล้ว(สำรวจ พ.ศ.2542)
ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรเหล็กก็มีความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก
สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า
แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว

โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่นๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา


1 ความคิดเห็น: