เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินขัด
มีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช้ สมัยหินใหม่
พบหลักฐานการใช้เครื่องมือแบบขวานหินขัด(Polish Axes/ Ads) ทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า
บางครั้งชาวบ้านเรียกว่าขวานฟ้า เพราะมักพบตามหัวไร่ปลายนาหลังถูกน้ำฝนชะล้าง
คนสมัยนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้ว
รู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตามเนินดินค่อนข้างสูง หรือริมฝั่งแม่น้ำชันๆ เช่น
แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี พบหลักฐานโครงกระดูกแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย
เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี
(ภาชนะลายเขียนสีบ้านเชียง) แหล่งโบราณคดี อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี ฯลฯ
คนสมัยนี้นิยมใส่ภาชนะดินเผาบรรจุอาหาร เครื่องมือหินและเครื่องประดับจากหิน กระดูกหรืองาช้าง
ลงในหลุมศพด้วย
มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร
จึงไม่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์
สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น
การประดิษฐ์เครื่องมือหินจึงมีความประณีตมากขึ้น โดยมีการฝนผิวเครื่องมือหินจนเรียบ
เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” รู้จักใช้ไฟ
มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักหุงต้ม อาหารให้สุกก่อนกิน สมัยนี้มีอายุประมาณ
8,000-3,000 ปี
ทั้งสมัยหินเก่า
สมัยหินกลางและสมัยหินใหม่นี้ เราสามารถเรียกแบบรวม ๆ กันว่า “ยุคหิน” เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่
มนุษย์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเช่นเดียวกัน
สรุปสำคัญ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ
4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2.
ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3.
เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4.
รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ
การประดิษฐ์เรือ
5.
รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน
(Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์
เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว
ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์
สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่
คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาขอป่า
มาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพราะปลูกแทน
ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของ
มนุษยชาติ
การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว
์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว
คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน และเก็บเกี่ยวพืช เช่น ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโพด
อีกด้วย
สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า
ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับ
ขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอยู่ถาวรแทนการเร่ร่อน
อาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนหินเก่า เมื่อหลายครอบ
ในด้านศิลปะพบว่า
คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารก
ลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร
ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดใน
ตะวันออกกลางบริเวณที่เป็นประเทศ
ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่าน
และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา
ในปัจจุบัน
จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ
7,000 ปีมาแล้ว
และดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับไปจากบริเวณนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น