วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

รัชกาลที่6

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ 

            พระราชประวัติ

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

รัชกาลที่5

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ 

             พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ ข้อ 
1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์

รัชกาลที่4

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา 

             พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

รัชกาลที่3

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ 

             พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
             พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
             ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น คํ่า เดือน ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา 

รัชกาลที่2

พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ 
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 
             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ 
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346


รัชกาลที่2


พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

              พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ 
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 
             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ 
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346


วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รัชกาลที่1

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก 
ประกอบด้วย
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
2. พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง)
5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา


ยุคหินใหม่

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินขัด มีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช้ สมัยหินใหม่ พบหลักฐานการใช้เครื่องมือแบบขวานหินขัด(Polish Axes/ Ads) ทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า บางครั้งชาวบ้านเรียกว่าขวานฟ้า เพราะมักพบตามหัวไร่ปลายนาหลังถูกน้ำฝนชะล้าง คนสมัยนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้ว รู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตามเนินดินค่อนข้างสูง หรือริมฝั่งแม่น้ำชันๆ เช่น แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี พบหลักฐานโครงกระดูกแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี (ภาชนะลายเขียนสีบ้านเชียง) แหล่งโบราณคดี อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี ฯลฯ คนสมัยนี้นิยมใส่ภาชนะดินเผาบรรจุอาหาร เครื่องมือหินและเครื่องประดับจากหิน กระดูกหรืองาช้าง ลงในหลุมศพด้วย
มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร จึงไม่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น การประดิษฐ์เครื่องมือหินจึงมีความประณีตมากขึ้น โดยมีการฝนผิวเครื่องมือหินจนเรียบ เรียกว่า เครื่องมือหินขัดรู้จักใช้ไฟ มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักหุงต้ม อาหารให้สุกก่อนกิน สมัยนี้มีอายุประมาณ 8,000-3,000 ปี
ทั้งสมัยหินเก่า สมัยหินกลางและสมัยหินใหม่นี้ เราสามารถเรียกแบบรวม ๆ กันว่า ยุคหินเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ มนุษย์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเช่นเดียวกัน
สรุปสำคัญ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์
สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่
คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาขอป่า
มาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพราะปลูกแทน ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของ
มนุษยชาติ การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว
์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน และเก็บเกี่ยวพืช เช่น ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโพด อีกด้วย
สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับ

ขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอยู่ถาวรแทนการเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนหินเก่า เมื่อหลายครอบ


ในด้านศิลปะพบว่า คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารก
ลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดใน
ตะวันออกกลางบริเวณที่เป็นประเทศ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่าน และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา
ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว
และดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับไปจากบริเวณนี้

ยุคหินกลาง



ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องยนต์และเริ่มมีทำนาพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
ยุคหินกลาง ไม่พบหลักฐานในประเทศไทย สมัยหินกลาง ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะทรงโดมแบบสับตัด(Chopper Chopping Tools) เครื่องมือแบบขูด(Scrapper) เครื่องสะเก็ดหินแบบฮัวบิห์เนียน เครื่องมือแบบสุมาตราลิธ(Sumatralithลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างแบนยาวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) คนสมัยหินกลางอาศัยอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบที่ถ้ำผี ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน และถ้ำในภาคใต้ บางแหล่งรู้จักการเพาะปลูกและทำเครื่องปั้นดินเผา ยังไม่พบร่องรอยโครงกระดูกมนุษย์สมัยนี้ในประเทศไทย
มนุษย์ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคหินเก่า จับปลาและล่าสัตว์เก่งกว่า เริ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ มีการปรับ ปรุงการทำเครื่องมือหินกะเทาะให้มีความประณีตมากขึ้นและมีการใช้สะเก็ดหินทำเครื่องมือด้วย รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพ สมัยนี้มีอายุประมาณ 10,000-8,000 ปี
สรุปสำคัญ
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ

4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ


ยุคเหล็ก

เป็นยุคที่รู้จักการถลุงเหล็ก นำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
แบ่งเป็นแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะสำริดฝังร่วมกับโครงกระดูกในหลุมศพ พบที่บ้านเชียง อุดรธานี หรือแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ฯลฯ ส่วนแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเหล็กฝังร่วมกับโครงกระดูกนั้น พบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งกำลังถูกนายทุนเช่าที่เพื่อลักลอบขุดหาโบราณจนกระทั่งแทบหมดสภาพแล้ว(สำรวจ พ.ศ.2542)
ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรเหล็กก็มีความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก
สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า
แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว

โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่นๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา


ยุคสำริด


ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น
ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา

แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย


ยุคโลหะ


         เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และสามารถนำโลหะ และสามารถนำโลหะมาหลอมใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ต่าง ๆ หลายชนิด โดยในช่วงแรกโลหะที่ใช้คือ สำริด เช่น กลองมโหระทึก ขวานสำริด หอกสำริด เครื่องประดับสำริด ต่อมาจะมีการผสมผสานโลหะในการทำเครื่องมือ เช่น ใบหอกทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยสำริดหล่อหุ้มและพัฒนาไปสู่การ ทำเครื่องมือด้วยเหล็กทั้งหมด ยุคนี้มีอายุประมาณ 3,000 ปี ลงมาถึง พ.ศ. 1000
ทั้งยุคหินและยุคโลหะนี้ มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นมาสำหรับบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เราจึงรวมเรียกยุค หินและยุคโลหะว่าเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในตอนปลายของยุคโลหะ ชุมชนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วจนเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีผลผลิตที่เหลือกินเหลือ ใช้ จึงเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง ชุมชนเติบโตจากหมู่บ้านขึ้นเป็นเมือง การติดต่อค้าขายขยายวง กว้างออกไปค้าขายทางทะเลกับดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมเจริญรุ่งเรือง ที่ได้เข้ามาทำการค้าโดยทางเรือและได้นำเอาศิลปวิทยาการตลอดจนความเชื่อทางศาสนาเข้ามาด้วย มีผลให้เกิดการ พัฒนาของบ้านเมืองในดินแดนแถบนี้ต่อมา

โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้คือ ทองแดง ปรากฏหลักฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทิส นำทองแดงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช


ยุคหินเก่า


เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเร่ร่อนเก็บของป่าและล่าสัตว์มาเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ไม่ถาวร เนื่อง จากต้องย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาแหล่งอาหารไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบๆ สมัยหินเก่าพบหลักฐานเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ(Pebble Tools)ขนาดใหญ่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินเก่า คนสมัยนี้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์(Hunting Gathering) ไม่รู้จักการเพาะปลูก หรือทำเครื่องปั้นดินเผา

ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Old Stone Age) ประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอย่างง่ายก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องมือหิน มนุษย์ใช้วัสดุจำพวกหินไฟ ซึ่งในยุคนี้สามารถแบ่งเครื่องมือสมัยเก่าออกเป็น 3 ช่วงได้แก่
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) มนุษย์สไตนไฮน์ (Steinheim) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตุส (Homoerectus) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นได้ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวานกระเทาะแบบกำปั้น
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอธัลในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น มีด้ามยาวมากขึ้นและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น และยังมีหลักฐานพฤติกรรมทางสังคม เช่น หลักฐานการประกอบพิธีฝังศพ
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบในยุโรป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cor-Magon) มนุษย์กริมัลติ (Grimaldi) และมนุษย์ชานเซอเลต (Chanceled) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะหลายประเภทกว่ายุคก่อน ได้แก่ หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด และเครื่องประดับทำด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์

 สรุปสำคัญ

ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)
1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
5. รู้จักใช้ไฟ
6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม

สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า


ยุคหินเก่าแบ่งเป็นยุคย่อย ๆ ได้ 3 ระยะ ได้แก่ ยุคหินเก่าตอนต้น ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหิน
เก่าตอนปลาย คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการ
พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้อง
อพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว
อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่
กับการแสดงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ
การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มี และเข็ม เป็นต้น
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว แล้ว แต่ยังไม่มีการ
อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวรขณะ
เดียวกันองค์กรทางเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตยคือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน
ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น