วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รัชกาลที่1

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก 
ประกอบด้วย
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
2. พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง)
5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา


ยุคหินใหม่

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินขัด มีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช้ สมัยหินใหม่ พบหลักฐานการใช้เครื่องมือแบบขวานหินขัด(Polish Axes/ Ads) ทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า บางครั้งชาวบ้านเรียกว่าขวานฟ้า เพราะมักพบตามหัวไร่ปลายนาหลังถูกน้ำฝนชะล้าง คนสมัยนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้ว รู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตามเนินดินค่อนข้างสูง หรือริมฝั่งแม่น้ำชันๆ เช่น แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี พบหลักฐานโครงกระดูกแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี (ภาชนะลายเขียนสีบ้านเชียง) แหล่งโบราณคดี อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี ฯลฯ คนสมัยนี้นิยมใส่ภาชนะดินเผาบรรจุอาหาร เครื่องมือหินและเครื่องประดับจากหิน กระดูกหรืองาช้าง ลงในหลุมศพด้วย
มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร จึงไม่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น การประดิษฐ์เครื่องมือหินจึงมีความประณีตมากขึ้น โดยมีการฝนผิวเครื่องมือหินจนเรียบ เรียกว่า เครื่องมือหินขัดรู้จักใช้ไฟ มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักหุงต้ม อาหารให้สุกก่อนกิน สมัยนี้มีอายุประมาณ 8,000-3,000 ปี
ทั้งสมัยหินเก่า สมัยหินกลางและสมัยหินใหม่นี้ เราสามารถเรียกแบบรวม ๆ กันว่า ยุคหินเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ มนุษย์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเช่นเดียวกัน
สรุปสำคัญ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์
สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่
คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาขอป่า
มาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพราะปลูกแทน ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของ
มนุษยชาติ การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว
์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน และเก็บเกี่ยวพืช เช่น ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโพด อีกด้วย
สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับ

ขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอยู่ถาวรแทนการเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนหินเก่า เมื่อหลายครอบ


ในด้านศิลปะพบว่า คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารก
ลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดใน
ตะวันออกกลางบริเวณที่เป็นประเทศ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่าน และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา
ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว
และดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับไปจากบริเวณนี้

ยุคหินกลาง



ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องยนต์และเริ่มมีทำนาพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
ยุคหินกลาง ไม่พบหลักฐานในประเทศไทย สมัยหินกลาง ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะทรงโดมแบบสับตัด(Chopper Chopping Tools) เครื่องมือแบบขูด(Scrapper) เครื่องสะเก็ดหินแบบฮัวบิห์เนียน เครื่องมือแบบสุมาตราลิธ(Sumatralithลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างแบนยาวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) คนสมัยหินกลางอาศัยอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบที่ถ้ำผี ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน และถ้ำในภาคใต้ บางแหล่งรู้จักการเพาะปลูกและทำเครื่องปั้นดินเผา ยังไม่พบร่องรอยโครงกระดูกมนุษย์สมัยนี้ในประเทศไทย
มนุษย์ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคหินเก่า จับปลาและล่าสัตว์เก่งกว่า เริ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ มีการปรับ ปรุงการทำเครื่องมือหินกะเทาะให้มีความประณีตมากขึ้นและมีการใช้สะเก็ดหินทำเครื่องมือด้วย รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพ สมัยนี้มีอายุประมาณ 10,000-8,000 ปี
สรุปสำคัญ
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ

4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ


ยุคเหล็ก

เป็นยุคที่รู้จักการถลุงเหล็ก นำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
แบ่งเป็นแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะสำริดฝังร่วมกับโครงกระดูกในหลุมศพ พบที่บ้านเชียง อุดรธานี หรือแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ฯลฯ ส่วนแหล่งโบราณคดีซึ่งพบเครื่องมือเหล็กฝังร่วมกับโครงกระดูกนั้น พบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งกำลังถูกนายทุนเช่าที่เพื่อลักลอบขุดหาโบราณจนกระทั่งแทบหมดสภาพแล้ว(สำรวจ พ.ศ.2542)
ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรเหล็กก็มีความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก
สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า
แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว

โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่นๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา


ยุคสำริด


ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น
ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา

แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย


ยุคโลหะ


         เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และสามารถนำโลหะ และสามารถนำโลหะมาหลอมใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ต่าง ๆ หลายชนิด โดยในช่วงแรกโลหะที่ใช้คือ สำริด เช่น กลองมโหระทึก ขวานสำริด หอกสำริด เครื่องประดับสำริด ต่อมาจะมีการผสมผสานโลหะในการทำเครื่องมือ เช่น ใบหอกทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยสำริดหล่อหุ้มและพัฒนาไปสู่การ ทำเครื่องมือด้วยเหล็กทั้งหมด ยุคนี้มีอายุประมาณ 3,000 ปี ลงมาถึง พ.ศ. 1000
ทั้งยุคหินและยุคโลหะนี้ มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นมาสำหรับบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เราจึงรวมเรียกยุค หินและยุคโลหะว่าเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในตอนปลายของยุคโลหะ ชุมชนมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วจนเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีผลผลิตที่เหลือกินเหลือ ใช้ จึงเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง ชุมชนเติบโตจากหมู่บ้านขึ้นเป็นเมือง การติดต่อค้าขายขยายวง กว้างออกไปค้าขายทางทะเลกับดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมเจริญรุ่งเรือง ที่ได้เข้ามาทำการค้าโดยทางเรือและได้นำเอาศิลปวิทยาการตลอดจนความเชื่อทางศาสนาเข้ามาด้วย มีผลให้เกิดการ พัฒนาของบ้านเมืองในดินแดนแถบนี้ต่อมา

โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้คือ ทองแดง ปรากฏหลักฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทิส นำทองแดงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช


ยุคหินเก่า


เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเร่ร่อนเก็บของป่าและล่าสัตว์มาเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ไม่ถาวร เนื่อง จากต้องย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาแหล่งอาหารไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบๆ สมัยหินเก่าพบหลักฐานเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ(Pebble Tools)ขนาดใหญ่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินเก่า คนสมัยนี้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์(Hunting Gathering) ไม่รู้จักการเพาะปลูก หรือทำเครื่องปั้นดินเผา

ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Old Stone Age) ประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอย่างง่ายก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องมือหิน มนุษย์ใช้วัสดุจำพวกหินไฟ ซึ่งในยุคนี้สามารถแบ่งเครื่องมือสมัยเก่าออกเป็น 3 ช่วงได้แก่
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) มนุษย์สไตนไฮน์ (Steinheim) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตุส (Homoerectus) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นได้ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวานกระเทาะแบบกำปั้น
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอธัลในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น มีด้ามยาวมากขึ้นและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น และยังมีหลักฐานพฤติกรรมทางสังคม เช่น หลักฐานการประกอบพิธีฝังศพ
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบในยุโรป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cor-Magon) มนุษย์กริมัลติ (Grimaldi) และมนุษย์ชานเซอเลต (Chanceled) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะหลายประเภทกว่ายุคก่อน ได้แก่ หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด และเครื่องประดับทำด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์

 สรุปสำคัญ

ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)
1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
5. รู้จักใช้ไฟ
6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม

สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า


ยุคหินเก่าแบ่งเป็นยุคย่อย ๆ ได้ 3 ระยะ ได้แก่ ยุคหินเก่าตอนต้น ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหิน
เก่าตอนปลาย คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการ
พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้อง
อพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว
อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่
กับการแสดงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ
การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มี และเข็ม เป็นต้น
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว แล้ว แต่ยังไม่มีการ
อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวรขณะ
เดียวกันองค์กรทางเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตยคือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน
ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยธนบุรี






            หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา  ถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 4" (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหา กษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรีการตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
      1. กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้
   กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
     2. ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
    3. ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี


ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป

ชุมนุมคนไทยทั้ง  5 ชุมนุม ได้แก่
1.ชุมนุมเจ้าพิมาย
2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง
3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
5.ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง 7  เดือน



การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร
    พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช  และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี   สาเหตุที่ พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้  เนื่องจาก

1. พระปรีชาสามารถในการรบ
2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน
3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ

การขยายอาณาจักร
หลังจากเหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเริ่มขยายอาณาเขตไปยังปร ะเทศใกล้เคียง  ดังนี้
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร
- เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ
- ในปี พ.ศ. 2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ
- ในปี พ.ศ. 2323 ได้เกิดกบฎในเขมร จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามอีกแต่ยังไม่ทันสำเร็จพอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ
2. การขยายอำนายไปยังลาว
- การตีเมืองจำปาศักดิ์
- การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรูปที่สำคัญมา 2 องค์ คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง



อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีดังนี้
- ทิศเหนือ ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์
- ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน
- ทิศใต้ ได้ดินแดนเมืองกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
- ทิศตะวันตก จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย และตะนาวศรี


เกร็ดน่ารู้

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย รวบรวมอาณาเขตประเทศไทย ให้เป็นปึกแผ่น ทรงปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ ขยายอาณาเขตออกไปได้กว้างขวาง นับว่าพระองค์ เป็นมหาวีรกษัตริย์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้ไว้แก่ชาติไทยเป็นอันมาก ควรแก่การเทิดทูนในพระเกีย รติคุณเป็นอย่างยิ่ง    ต่อมาในปลายรัชกาล พระองค์เสียพระจริต จึงถูกข้าราชการปลดพระองค์ออกจากราชสมบัติรวมเวลาครองราชย์อยู่ 15 ปี สิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2325 ประชาชนชาวไทยในหนหลัง ได้ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



เครดิส : ข้อมูล http://haab.catholic.or.th/history/tonburei/tonburei1/tonburei1.html
                ขออนุญาติเจ้าของรูปภาพ

สมัยอยุธยา



สมัยอยุธยา

ประวัติอยุธยา โดยย่อ
     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ภูมิประเทศ

     อยุธยาเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม.














การปกครอง


     มี 16 อำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังนัอย

เกษตรกรรม   ปศุสัตว์
           - พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว
           -  ข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญ ใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก  ใช้บริโภคภายในเป็นสำคัญ
           - รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า
           - ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎรโดยเฉพาะข้าว
           - ตรากฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
           - การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวาง
           - ให้กำลังใจชาวนาโดยประกอบพระราชพิธีเช่น พืชมงคล จรดพระนังคัล แรกนาขวัญ พิรุณศาสตร์
           - ประชาชนประกอบอาชีพประมงทุกครัวเรือน ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีประกาศห้ามจับสัตว์น้ำในวันพระขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ
           - เครื่องเทศโดยเฉพาะพริกไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่งขายต่างชาติมาก ในสมัยพระนารายณ์ฯ มีการทำสัญญาให้สิทธิแก่ฝรั่งเศสในการผูกขาดการซื้อพริกไทย
           - หมาก พลู ส่งไปขายยังมะละกาและจีน

           - ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจ การตัดมีโทษปรับสูง




เกร็ดความรู้

ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เพียงเป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษย์ชาติ ิซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากการสงครามจากประเทศเพื่อนบ้านและจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเองแล้ว ส่วนที่ปรากฏ ในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และความสามารถยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปวัฒนธรรมและความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยหรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ยูเนสโก้(UNESCO) โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครอง ตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆ ได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนคนรุ่นหลังน่าที่จะ ได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้


     สถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานได้แก่ วัดและพระราชวังต่างๆ พระราชวังในพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาสอยู่นอกพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง




เครดิส:  ข้อมูล  http://www.ayutthaya.org/history/

            ขออนุญาติเจ้าของรูปภาพ

สมัยสุโขทัย





          อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง 
มีอาณาเขตดังนี้
           1.ทิศเหนือ มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
           2.ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
           3.ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ

           4.ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ







รัฐสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน 
คือ  เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง

ด้านเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน และ ส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก.



ด้านการปกครอง
อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ

1.แบบพ่อปกครองลูก
ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

2.แบบธรรมราชา
การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔

การสิ้นสุดของของอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง [2]) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ

ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด





เครดิส: ขออนุญาติเจ้าของข้อมูลและเจ้าของรูปภาพด้วยค่ะ