วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยอยุธยา



สมัยอยุธยา

ประวัติอยุธยา โดยย่อ
     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ภูมิประเทศ

     อยุธยาเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม.














การปกครอง


     มี 16 อำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังนัอย

เกษตรกรรม   ปศุสัตว์
           - พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว
           -  ข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญ ใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก  ใช้บริโภคภายในเป็นสำคัญ
           - รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า
           - ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎรโดยเฉพาะข้าว
           - ตรากฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
           - การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวาง
           - ให้กำลังใจชาวนาโดยประกอบพระราชพิธีเช่น พืชมงคล จรดพระนังคัล แรกนาขวัญ พิรุณศาสตร์
           - ประชาชนประกอบอาชีพประมงทุกครัวเรือน ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีประกาศห้ามจับสัตว์น้ำในวันพระขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ
           - เครื่องเทศโดยเฉพาะพริกไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่งขายต่างชาติมาก ในสมัยพระนารายณ์ฯ มีการทำสัญญาให้สิทธิแก่ฝรั่งเศสในการผูกขาดการซื้อพริกไทย
           - หมาก พลู ส่งไปขายยังมะละกาและจีน

           - ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจ การตัดมีโทษปรับสูง




เกร็ดความรู้

ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เพียงเป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษย์ชาติ ิซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากการสงครามจากประเทศเพื่อนบ้านและจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเองแล้ว ส่วนที่ปรากฏ ในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และความสามารถยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ทางศิลปวัฒนธรรมและความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทยหรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ยูเนสโก้(UNESCO) โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครอง ตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆ ได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนคนรุ่นหลังน่าที่จะ ได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้


     สถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานได้แก่ วัดและพระราชวังต่างๆ พระราชวังในพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาสอยู่นอกพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง




เครดิส:  ข้อมูล  http://www.ayutthaya.org/history/

            ขออนุญาติเจ้าของรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น