อาณาจักรสุโขทัย
ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ
และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง
มีอาณาเขตดังนี้
1.ทิศเหนือ
มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
2.ทิศใต้
มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
3.ทิศตะวันตก
มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
4.ทิศตะวันออก
มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ
รัฐสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น
4 ส่วน
คือ เมืองสรวงสองแคว
(พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
เมืองสุโขทัย
เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
เมืองเชลียง
(ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
เมืองชากังราว
(กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า
ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ
"...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..."
ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ
เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน และ ส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก.
ด้านการปกครอง
อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
1.แบบพ่อปกครองลูก
ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก
พระมหากษัตริย์เรียกว่า "พ่อขุน"
ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน
พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์
และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล
ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน
หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง
การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
2.แบบธรรมราชา
การปกครองแบบธรรมราชา
หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑
มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง
ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น
พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย
หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง
โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง
ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย
ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔
การสิ้นสุดของของอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ.
2127
หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง
(เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร
เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง [2]) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่
พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้
จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้
และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง
แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ
มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ
อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127
แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย
ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ
(ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก
หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก
ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด
เครดิส: ขออนุญาติเจ้าของข้อมูลและเจ้าของรูปภาพด้วยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น